วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561

ธรรมะก่อนสอบ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร)

การสอบไล่จะได้หรือตก
ขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของเราเองมิใช่ขึ้นอยู่กับความปรารถนาแต่จะได้โดยไม่เลือกทาง”

“ได้เป็นได้ตกเป็นตก 
แต่ในขณะที่สอบจงตั้งใจตอบให้ดีที่สุด
ตามภูมิปัญญาของตน หากสอบได้ จะรู้สึกในใจของตนเองว่าได้อย่างมีเกียรติ หากสอบตก ก็ขอให้ตกอย่างมีเกียรติ โดยตนเองรู้สึกว่า ใช่ตกเพราะทุจริต แต่ตกเพราะภูมิปัญญาของตนยังมีน้อย”

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร)


วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

กรณีเตโชวิปัสสนา ตอนที่ 3 อ.อัจฉราวดี วงศ์สกล ไม่ยึดพระไตรปิฎกแต่ยึดคำพระเถระขึ้นอ้าง

อ.อัจฉราวดี วงศ์สกล เคยกล่าวไว้ว่า พระพุทธองค์ไม่เคยสอนให้ท่องจำ มีแต่ทรงสอนให้นั่งภาวนาให้ปลีกวิเวก ให้มีอินทรีย์สังวร ให้มีสติรู้วางอุเบกขา พระพุทธองค์ทรงสอนให้ยึดธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่ยึดคำเป็นที่พึ่ง พระไตรปิฎกก็เป็นดุจเข็มทิศชี้ทาง ไม่ใช่ยึดเข็มทิศนั่นว่าเป็นทาง จะถึงทางมันต้องออกเดิน ไม่ใช่นั่งกอดเข็มทิศ

ในลำดับต่อมา หลวงพ่อสงบ กุสลจิตฺโต ได้ออกมาปกป้อง อ.อัจฉราวดี วงศ์สกล ความว่า ทำถูกต้องแล้วฝากไว้ด้วยนะ อย่ากล่าวหาอาจารย์อ้อยนะ ไอ้เราขี้ยังเต็มหัวใจอยู่เลย ก้างก็ยังเต็มใจอยู่เนี่ย จะมีสิทธิ์อะไรไปกล่าวหาเขาผู้ที่เหลือน้อยๆนะ มันน่าอายนะ


นิตยสารข้ามห่วงมหรรณพกับ อ.อัจฉราวดี วงศ์สกล.(2561).เค้าก็พูดถูก คนพูดถูก มันก็ถูกน่ะ.สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://www.facebook.com/5000sMagazine/videos/1376692235808528/


สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) ท่านได้เขียนไว้ในหนังสือกรณีธรรมกาย (2559,หน้า 36-37) ความว่า

ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสหลักมหาปเทส 4 ไว้ได้แก่ที่อ้างอิงใหญ่หรือหลักใหญ่สำหรับใช้อ้างเพื่อสอบสวนเทียบเคียงเริ่มแต่หมวดแรกที่เป็นชุดใหญ่ซึ่งแยกเป็น



1.พุทธาปเทส (ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นอ้าง)

2.สังฆาปเทส (ยกเอาสงฆ์ทั้งหมู่ขึ้นอ้าง)

3.สัมพหุลัตเถราปเทส (ยกเอาพระเถระจำนวนมากขึ้นอ้าง)

4.เอกเถราปเทส (ยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอ้าง)

(ที.ม.10/113/144;องฺ.จตุกฺก.21/180/227)


ทั้ง 4 กรณีนี้เพื่อตรวจสอบในพระสูตรเพื่อเทียบเคียงในวินัยถ้าลงกันสมกันจึงยอมรับกันได้

นอกจากนั้นถ้าเป็นปัญหาหรือข้อสงสัยที่จำกัดลงมาในส่วนพระวินัยก็สามารถใช้หลัก มหาปเทส 4 ชุดที่สองตรวจสอบซึ่งจะไม่กล่าวรายละเอียดในที่นี้เพราะนักวินัยทราบกันดี

เมื่อพิจารณากว้างออกไปโดยครอบคลุมถึงคำสอนรุ่นหลังๆหรือ ลำดับต่อมา ท่านก็มีหลักเกณฑ์ที่จะให้

ความสำคัญในการวินิจฉัยลดหลั่นลงมาโดยวางเกณฑ์วินิจฉัยคำสอนความเชื่อและการปฏิบัติเป็นสี่ขั้นคือ (ที.อ.2/172 ; วินย.อ.1/271 ; วินย.ฎีกา 3/352)

1.สุตตะ ได้แก่ พระไตรปิฎก

2.สุตตานุโลม ได้แก่ มหาปเทส ยอมรับอรรถกถาด้วย

3.อาจาริยวาท ได้แก่ อรรถกถา พ่วง ฎีกา อนุฎีกา ด้วย

4.อัตตโนมติ ได้แก่ มติของบุคคลที่นอกจากสามข้อต้น




สิ่งที่ข้าพเจ้าชี้แจงไว้ข้างต้นนั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่า ในทางพระพุทธศาสนาได้วางรากฐานการตรวจสอบคำสอนอย่างครบถ้วน การที่ยึดเพียงพระเถระรูปใดรูปหนึ่ง(อัตตโนมติ) เพื่อพิสูจน์ว่าหลักการปฏิบัติของตนถูกต้องนั้น จึงไม่ใช่วิสัยที่เป็นไปได้ 

ในขณะเดียวกัน อ.อัจฉราวดี วงศ์สกล ปฏิเสธที่จะยึดพระไตรปิฏก หรือ สุตตะ ซึ่งเป็นหลักวินิจฉัยที่สูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งใน (วินย.ฎีกา.2/71) กล่าวไว้ว่า “เพราะว่าเมื่อค้านสุตตะ ก็คือค้านพระพุทธเจ้า

การที่ อ.อัจฉราวดี วงศ์สกล กล่าวว่า “พระพุทธองค์ไม่เคยสอนให้ท่องจำ” นั้น ขอแก้ว่า
พระพุทธองค์ทรงให้ท่องจำพระไตรปิฏก ซึ่งตรัสไว้ใน (
จตุกฺก.อํ.21/198/160) ความว่า

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น 

ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็นมูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป

การที่ อ.อัจฉราวดี วงศ์สกล กล่าวว่า พระพุทธองค์ทรงสอนให้ยึดธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่ยึดคำเป็นที่พึ่งแก้ว่า ธรรมนั้น หมายรวม ปริยัติธรรมหมายถึงคำสอนของพระพุทธองค์ที่รวบรวมเป็นบทเรียนคือพระไตรปิฎกด้วย รวมไปถึงกล่าวถึง อินทรีย์สังวร และ สติก็ล้วนนำมาจากพระไตรปิฎกเช่นกัน จึงเป็นการกล่าวที่ย้อนแย้งตัวเอง

และการที่ อ.อัจฉราวดี วงศ์สกล กล่าวว่า พระพุทธองค์ทรงสอนให้ยึดธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่ยึดคำเป็นที่พึ่ง พระไตรปิฎกก็เป็นดุจเข็มทิศชี้ทาง ไม่ใช่ยึดเข็มทิศนั่นว่าเป็นทาง จะถึงทางมันต้องออกเดิน ไม่ใช่นั่งกอดเข็มทิศใน วิภงฺค.อ.(สมฺโมหวิโนทนี) หน้า ๕๑๔ (มจร.) กล่าวไว้ว่า

แม้ภิกษุผู้มีปัญญาทราม นั่งในท่ามกลางผู้อุปัฏฐากทั้งหลายแล้ว กล่าวอยู่เป็นต้นว่า พวกเราละทิ้งพระปริยัติธรรมแล้ว ด้วยความคิดว่า 'เมื่อเราตรวจดูธรรมสามหมวดที่ทำให้สัตว์เนิ่นช้าในมัชฌิมนิกายอยู่, มรรคนั่นแหละมาแล้วพร้อมด้วยฤทธิ์, ธรรมดาพระปริยัติธรรม เป็นสิ่งที่กระทำได้โดยไม่ยากสำหรับพวกเรา, แท้จริง การสนใจในพระปริยัติธรรม ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ได้ดังนี้ ย่อมแสดงความที่ตนเป็นผู้มีปัญญามาก


ก็เมื่อภิกษุกล่าวอยู่อย่างนี้ ย่อมให้การทำลายล้างในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น, ชื่อว่า มหาโจรผู้เช่นกับด้วยภิกษุนี้ ย่อมไม่มี. เพราะว่า บุคคลผู้ทรงพระปริยัติธรรมไว้ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ หามีไม่

ดังนั้นการที่ อ.อัจฉราวดี วงศ์สกล กล่าวเช่นนี้ถือว่าเป็นการทำลายล้างพระพุทธศาสนาหรือไม่ ?

สุดท้ายนี้ขอยกคำของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ความว่า ใครก็ตามที่กล่าวอ้างตนปฏิบัติได้โดยไม่อาศัยพระไตรปิฎกก็คือพูดว่า ปฏิบัติตนได้โดยไม่ต้องอาศัยพระพุทธเจ้า เราจะเรียกการปฏิบัตินั้นว่าเป็นพระพุทธศาสนาได้อย่างไร แน่นอนว่านั่นเป็นการปฏิบัติลัทธิความเชื่อหรือความคิดของตัวเขาเองหรือของใครอื่น ที่คิดข้อปฏิบัตินั้นขึ้นมา


วันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2561

กรณีเตโชวิปัสสนา ตอนที่ ๒ เรื่อง เตโชวิปัสสนาเป็นสติปัฏฐานหรือไม่


ในครั้งนี้ข้าพเจ้าจะขออธิบายเพิ่มเติมจากถ้อยแถลงของสำนักเตโชวิปัสสนา ซึ่งได้อธิบายวิชาที่ตนฝึกไว้ว่า “เตโชวิปัสสนากรรมฐาน คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามหลักสติปัฏฐานสี่” (ถ้อยแถลง.(ม.ป.ป.)สืบค้นเมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๑, จากhttp://techovipassana.org)

ข้าพเจ้าจึงขออธิบายในเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ที่กล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร ว่าคืออะไร ประกอบด้วยอะไร และปฏิบัติอย่างไร

พระพุทธเจ้าได้ตรัสเกี่ยวกับสติปัฏฐาน ๔ ในมหาสติปัฏฐานสูตรไว้ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง พระนิพพานหนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ”
(ที.มหา.๑๐/๒๑๖/๒๗๓)

สติปัฏฐานนี้ แบ่งออกได้เป็น ๔ หมวดคือ
๑.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
๒.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
๓.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
๔.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

๑.นอกจากนี้พระพุทธเจ้าทรงจำแนกแต่ละหมวดของสติปัฏฐานไปอีก ๑๓ บรรพได้แก่

๑.๑ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๖ บรรพได้แก่
อานาปานบรรพ , อิริยาปถบรรพ ,สัมปชัญญบรรพ ,ปฏิกูลมนสิการบรรพ , ธาตุมนสิการบรรพ และ นวสีวถิกาบรรพ

๑.๒ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน พระพุทธเจ้าทรงไม่จำแนกบรรพ (สงเคราะห์เป็น ๑ บรรพ)

๑.๓ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน พระพุทธเจ้าทรงไม่จำแนกบรรพ (สงเคราะห์เป็น ๑ บรรพ)

๑.๔ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๕ บรรพ ได้แก่ นีวรณบรรพ , ขันธบรรพ , อายตบรรพ , โพชฌงคบรรพ และ สัจจบรรพ

๒.อรรถกถาอภิธัมมัตถสังคหะ ได้จำแนกแต่ละบรรพโดยละเอียดเป็น ๔๔ บรรพ

๒.๑ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๔ ปัพพะ ได้แก่
๒.๑.๑ อานาปานบรรพ (อานาปานปัพพะ) ว่าด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออก
๒.๑.๒ อิริยาปถบรรพ (อิริยาบถปัพพะ) ว่าด้วยการกำหนดอิริยาบถ ๔ กล่าวคือ นั่ง นอน ยืน และ เดิน
๒.๑.๓ สัมปชัญญบรรพ (สัมปชัญญปัพพะ) ว่าด้วยการกำหนดอิริยาบถย่อย ๗ ประการ กล่าวคือ
(๑) ก้าวไปข้างหน้า, ถอยกลับมาข้างหลัง
(๒) แลไปข้างหน้า, เหลียวไปข้างซ้ายและขวา
(๓) คู้แขนเข้า และ เหยียดแขนออก
(๔) กิริยาที่ใช้บาตร, จีวร, สังฆาฏิ
(๕) การเคี้ยว, การดื่ม, การเลีย
(๖) การถ่ายอุจจาระ และ ปัสสาวะ
(๗) การขยับเดิน, ยืน, นั่ง, นอน, จะหลับ ตื่น,นิ่ง, พูด
๒.๑.๔ ปฏิกูลมนสิการบรรพ (สัมปชัญญปัพพะ) ว่าด้วยการพิจารณาอาการ ๓๒ มีผม, ขน, เล็บ, ฟัน, หนัง เป็นต้น
๒.๑.๕ ธาตุมนสิการบรรพ (ธาตุปัพพะ) ว่าด้วยการพิจารณาลักษณะของธาตุ ๔ มีดิน, นำ้, ไฟ, ลม
(นวสีวถิกาบรรพ (อรรถกถาจารย์ได้จำแนกเพิ่มเพิ่มเป็นอสุภปัพพะ ๙ บรรพ)
๒.๑.๖ อสุภปัพพะ ว่าด้วยการพิจารณาศพที่ตายแล้ว ๒-๓ วัน
๒.๑.๗ อสุภปัพพะ ว่าด้วยการพิจารณาศพที่สัตว์กำลังกัดกิน
๒.๑.๘ อสุภปัพพะ ว่าด้วยการพิจารณาศพที่มีเนื้อ และเลือดติดอยู่
๒.๑.๙ อสุภปัพพะ ว่าด้วยการพิจารณาศพที่มีแต่เส้นเอ็นรัดอยู่
๒.๑.๑๐ อสุภปัพพะ ว่าด้วยการพิจารณาศพที่มีแต่โครงกระดูกเป็นรูปอยู่
๒.๑.๑๑ อสุภปัพพะ ว่าด้วยการพิจารณาศพที่กระดูกกระจัดกระจาย
๒.๑.๑๒ อสุภปัพพะ ว่าด้วยการพิจารณาศพที่กระดูกเก่าสีขาวเหมือนหอยสังข์
๒.๑.๑๓ อสุภปัพพะ ว่าด้วยการพิจารณาศพที่เก่าถูกฝนชะกระจัดกระจาย
๒.๑.๑๔ อสุภปัพพะ ว่าด้วยการพิจารณาศพที่มีแต่กองกระดูกเป็นผง

๒.๒ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๙ ปัพพะ
๒.๒.๑ สุขเวทนา
๒.๒.๒ ทุกขเวทนา
๒.๒.๓ อุเบกขาเวทนา
๒.๒.๔ สุขเวทนา เจือด้วยอามิส
๒.๒.๕ ทุกขเวทนา เจือด้วยอามิส
๒.๒.๖ อุเบกขาเวทนา เจือด้วยอามิส
๒.๒.๗ สุขเวทนา ไม่เจือด้วยอามิส
๒.๒.๘ ทุกขเวทนา ไม่เจือด้วยอามิส
๒.๒.๙ อุเบกขาเวทนา ไม่เจือด้วยอามิส
(อามิส หมายถึง เครื่องล่อกล่าวคือกามคุณทั้ง ๕)

๒.๓ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๖ ปัพพะ
๒.๓.๑ สราคํ จิตมีราคะ
๒.๓.๒ วีตราคํ จิตไม่มีราคะ
๒.๓.๓ สโทสํ จิตมีโทสะ
๒.๓.๔ วีตโทสํ จิตไม่มีโทสะ
๒.๓.๕ สโมหํ จิตมีโมหะ
๒.๓.๖ วีตโมหํ จิตไม่มีโมหะ
๒.๓.๗ สงฺขิตฺตํ จิตมีถีนะ (ธรรมชาติที่ทำให้จิตหดหู่ท้อถอยจากอารมณ์)
๒.๓.๘ วิกฺขิตฺตํ จิตฟุ้งซ่าน
๒.๓.๙ มหคฺคตํ จิตเป็นรูปาวจร และอรูปาวจร (มหัคคตจิต ๒๗)
๒.๓.๑๐ อมหคฺคตํ จิตไม่เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร
(มหัคคตจิต ๒๗)
๒.๓.๑๑ สอุตฺตรํ จิตเป็นกามาวจร (กามาวจรจิต ๔๕)
๒.๓.๑๒ อนุตฺตรํ จิตไม่เป็นกามาวจร (กามาวจรจิต ๔๕)
๒.๓.๑๓ สมาหิตํ จิตเป็นสมาธิ
๒.๓.๑๔ อสมาหิตํ จิตไม่เป็นสมาธิ
๒.๓.๑๕ วิมุตฺตํ จิตที่พ้นจากกิเลส (ปริยุฏฐานกิเลส)
๒.๓.๑๖ อวิมุตฺตํ จิตที่ไม่พ้นจากกิเลส

๒.๔ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๕ ปัพพะ
๒.๔.๑ นีวรณบรรพ (นิวรณปัพพะ) พิจารณานิวรณ์ ๕
๒.๔.๒ ขันธบรรพ (ขันธปัพพะ)  พิจารณาขันธ์ ๕
๒.๔.๓ อายตบรรพ (อายตนปัพพะ) พิจารณาอายตนะ ๑๒
๒.๔.๔ โพชฌงคบรรพ (โพชฌงคปัพพะ) พิจารณาโพชฌงค์ ๗
๒.๔.๕ สัจจบรรพ (สัจจปัพพะ) พิจารณาอริยสัจ ๔

(วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี.(๒๕๕๘).คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ.กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.)

จากที่ข้าพเจ้าได้อธิบายเรื่องสติปัฏฐาน ๔ เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบว่าสติปัฏฐาน ๔ สามารถจำแนกแจกแจงออกไปได้ถึง ๑๓ บรรพ จนไปถึง ๔๔ บรรพนั้น การฝึกเตโชวิปัสสนาที่ว่าตามสติปัฏฐาน โดยวิธีการจุดธาตุไฟในกายมาเผากิเลส ตรงกับหลักสติปัฏฐานหมวดใด หรือบรรพใด ?

นักปฏิบัติเตโชวิปัสสนาก็อาจจะตอบว่าเป็นธาตุมนสิการบรรพว่าด้วยการพิจารณาลักษณะของธาตุ ๔ มีดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ในหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ข้าพเจ้าจึงขอตอบว่า ตามมหาสติปัฏฐานสูตรในธาตุมนสิการบรรพว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม” (ที.มหา.๑๐/๒๑๙/๒๗๘)

ดังนั้นการปฏิบัติสติปัฏฐาน ตามธาตุมนสิการบรรพ จึงไม่ใช่การจุดธาตุไฟ โดยการเพ่งไปที่ฝ่ามือ แต่เป็นการพิจารณาให้เห็นว่ากายนี้ประกอบด้วยธาตุดิน  ธาตุน้ำ ธาตุไฟและธาตุลม อีกทั้งอรรถกถาอภิธัมมัตถสังคหะ ก็ไม่ได้จำแนกไว้ว่าสามารถเจริญสติปัฏฐานดังกล่าว สามารถเจริญอย่างใดอย่างหนึ่งหรือธาตุใดธาตุหนึ่งได้ ซึ่งเป็นไปตามพุทธพจน์

มากไปกว่านั้นการเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ หมวด ๔๔ บรรพ ต้องประกอบด้วยองค์ธรรม คือมีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ  (อาตาปี สมฺปชาโน สติมา) ซึ่งสำนักเตโชวิปัสสนาเข้าใจคำว่าอาตาปี คลาดเคลื่อนจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา จากการที่ข้าพเจ้าได้แจกแจงวินิจฉัยแล้วในกรณีเตโชวิปัสสนา ตอนที่ ๑ จึงไม่สามารถเกิดสติปัฏฐานขึ้นมาได้เลย เพราะคำว่าอาตาปีของสำนักเตโชวิปัสสนานั้น ไม่ใช่อาตาปีของพระพุทธเจ้า

ดังนั้นเตโชวิปัสสนากรรมฐานจึงไม่ใช่สติปัฏฐาน ๔ ตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร และ อรรถกถาอภิธัมมัตถสังคหะ ซึ่งขอชี้แจงแต่เพียงเท่านี้

ป.ล. ความเดิมตอนที่แล้วข้าพเจ้าได้อธิบายเรื่ององค์ของสติปัฏฐานสี่ ว่า’อาตาปี’หมายความว่าอย่างไร การที่สำนักเตโชวิปัสสนาตีความอาตาปีเป็นไปตามพระอรรถกถาในพระไตรปิฎกหรือไม่ จึงใคร่ขอให้ทุกท่านที่ยังไม่อ่านสามารถไปอ่านใน https://buddhamkammasarn.blogspot.com/2018/01/blog-post_19.html?m=1

วันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2561

กรณีเตโชวิปัสสนา เรื่องอาตาปี ทำกิเลสให้เร่าร้อนด้วยไฟจริงหรือ

อาตาปี ทำกิเลสให้เร่าร้อนด้วยไฟจริงหรือ ?


มีถ้อยแถลงของสำนักเตโชวิปัสสนา ที่กล่าวอธิบายวิธีการดังกล่าวว่า

เตโชวิปัสสนากรรมฐาน คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามหลักสติปัฏฐานสี่ สายเตโชวิปัสสนามาจากคำว่า เตโช + วิปัสสนากรรมฐานหลักการภาวนา เป็นการจุดธาตุไฟในกายมาเผากิเลส ไม่ใช่เตโชกสิณ ที่เพ่งไฟจากภายนอกเตโชวิปัสสนา เน้นมาที่การมีความเพียรเผากิเลส เป็นเทคนิคในการปฏิบัติ ที่ตีตรงมาที่หัวใจของคำว่า อาตาปี สัมปชาโณ สติมา พึงมีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อนเตโชวิปัสสนา คือ การตั้งสติรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม ด้วยเทคนิควิธีการที่ทำให้เกิดธาตุไฟในกายจุดขึ้นมาเผากิเลส ทำให้จิตบริสุทธิ์อย่างรวดเร็ว อันเป็นวิธีปฏิบัติวิปัสสนาทางลัดตัดตรงสู่นิพพาน ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติที่ไม่เคยมีใครได้รู้หลักการภาวนานี้มาก่อน(ถ้อยแถลง.(...)สืบค้นเมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๑, จากhttp://techovipassana.org)



ข้าพเจ้ามีความสงสัยว่าอาตาปีหมายความว่าอย่างไร จึงได้ไปเปิดในพระไตรปิฎกฉบับของมหามกุฏราชวิทยาลัย และพบคำอธิบายในอรรถกถาความว่า


อาตาปี แปลว่า มีความเพียร 
จริงอยู่ผู้มีความเพียรนั้น เป็นผู้ประกอบด้วยวิริยารัมภะ  (ปรารภความเพียร) ดังที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า 
ผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้น มีกำลังใจมีความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย  ชื่อว่า อาตาปี เพราะ มีปกติเผากิเลสได้โดยสิ้นเชิง
(อรรถกถาอาตาปีสูตร ขุ.อิติ.๔๕/๒๐๕/๒๑๒)


ซึ่งข้อความในอรรถกถานั้นได้สอดคล้องกับ คำพูดของพระอาจารย์มหาบุญมี ปุญฺญวุฑฺโฒ ความว่า


จิตเผลอไม่มีสติรู้ตัว เป็นไปเองมีวิริยะฝ่ายอกุศลทำให้จิตเผลอ เป็นปัจจัยแก่กายทำตามเคยชิน
เมื่อจิตเผลอเป็นไปแล้วจิตรู้ตัวที่มีวิริยะฝ่ายกุศลเกิดสลับขึ้นมาเพราะได้ปัจจัยเป็นปัจจัยแก่กายเป็นวิริยะที่เกิดขึ้น เพราะได้ปัจจัยคือได้ละเครื่องกังวล ได้กายวิเวก ได้เรียนมาดี (สตาวุธ) ได้ความสะดวก (สัปปายะ) อย่าง จึงเรียกกิจกรรมความเพียรชนิดนี้ว่าปรารภความเพียรหรืออาตาปียังกิเลสให้เร่าร้อน
(พระมหาบุญมี ปุญฺญวุฑฺโฒ;๒๕๖๑,.๑๐๘)


จากอรรถกถาพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย และ และคำของพระอาจารย์มหาบุญมี นั้นแตกต่างจากถ้อยแถลงของสำนักเตโชวิปัสสนาอย่างสิ้นเชิง เพราะ อาตาปีนั้นไม่ใช่การจุดธาตุไฟในกายมาเผากิเลสแต่เป็นการปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้น มีกำลังใจมีความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย” 

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือกรณีธรรมกาย (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์, .๔๓๙)ไว้ว่ายกมาเล่าไม่หมดไม่ตลอดคงจะตัดเอาแต่ตอนที่เข้ากับความประสงค์ จึงทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ง่ายและ (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์, ท้ายเล่ม) ว่าประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัยก็ร้ายแต่ทำให้พระธรรมวินัยวิปริตร้ายยิ่งกว่า” 

ดังนั้นตอนที่ยกคำส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎกมาไม่ทั้งหมด และอีกทั้งนิยามคำศัพท์ที่ผิดพลาดจากอรรถกถา เป็นธรรมปลอมที่เข้ามาในพระพุทธศาสนา ดั่งในสัทธรรมปฏิรูปสูตรความว่า 


สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป 
และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด
เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลื่อนหายไป” 
(สํ.นิ.๒๖/๖๓๑/๕๓๒)



วันเสาร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2561

(ทำอย่างไรให้ได้)“ดั่งใจ” โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เชวง เดชะไกศยะ


"ดั่งใจ
(ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เชวง เดชะไกศยะ )

ความหมายของคำว่า ได้ดังใจ และไม่ได้ดั่งใจ  ท่านคงทราบดีอยู่แล้วว่า เด็ก-หนุ่มสาว-คนชรา ล้วนปรารถนาให้ได้ดั่งใจ คือให้สมหวังตามที่ตนปรารถนา(ดั่งใจ) ครั้นผิดหวังไม่สมหวังก็เดือดร้อน โทษคนโน้นคนนี้มาทำใ้ห้ตนไม่ได้ดั่งใจ ความทุกข์ความเครียดก็เกิดขึ้นติดตามเป็นผลปรากฏขึ้นในจิตใจ ไม่มีใครมาแก้ให้ให้เราได้ นอกจากต้องแก้ที่ตนเองเป็นสำคัญ ครั้นสมหวังดั่งใจ ก็ยินดีพอใจ อยากให้สมหวังให้ได้ดั่งใจในเรื่องอื่นๆต่อไปอีก
     
คนอยากได้ทรัพย์ด้วยกันทุกคน ทรัพย์หมายถึง สิ่งที่ปลื้มใจของคนทั้งโลก ทรัพย์ได้แก่ สิ่งที่มีวิญญาณ และสิ่งที่ไม่มีวิญญาณครองไม่มีใครในโลกที่ไม่ปรารถนาทรัพย์ อันได้แก่ ลาภสักการะ และยศศักดิ์ ตลอดจนความสุขต่างๆจาก รูป รส กลิ่น
เสียง สัมผัส เป็นต้น(ทรัพย์ทั้งสิ้น)

เมื่อได้ทรัพย์ ก็อยากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆไม่มีการยุติ ความจนจึงมีเสมอ คือจนเพราะไม่พอ ซึ่งต่างกับจนเพราะไม่มี ระหว่างการแสวงหาทรัพย์ก็ทุกข์ ได้มาต้องรักษาไว้ก็ทุกข์

รักใครแล้วเขาไม่รักตอบก็ทุกข์ เขาทิ้งเราไปก็ทุกข์ เราทิ้งเขาไปก็ทุกข์แต่ก็ยังดีกว่าตอนที่เราต้องทิ้งร่างกายของเราไปให้เหลือเพียงร่างกายที่เหมือนท่อนไม้ ไม่มีใครต้องการ
     
การได้ดั่งใจ และ ไม่ได้ดั่งใจ ทำให้สมหวังและผิดหวังเสมอ จึงเป็นธรรมดาของโลกที่เราต้องทำใจให้ได้ ยอมรับมันให้ได้ด้วย เมื่อได้ดั่งใจก็อย่าเพลิดเพลินและหลงอยู่กับมันจนมากเกินไป คิดเสียว่าเป็นธรรมดาที่จะต้องหมดไปสิ้นไปเป็นธรรมดา คิดได้ดังนี้แล้ว ความทุกข์ ความเศร้าหมอง ความเครียด
ก็ไม่มาก ไม่สามารถทำให้เราเผาใจเราเองได้ มองให้เห็นเป็นประโยชน์  สอนให้เราเกิดความอดทนสูงขึ้นไปตามลำดับ แล้วความสุขความสบายใจก็เกิดขึ้นเองได้

เรารู้จักตนดีขึ้น รู้ความคิด ความรู้สึกของเราที่กำลังเกิดขึ้นดีหรือไม่ดี เตือนตนเองได้ดีขึ้น รู้เท่าทันความคิด ความรู้สึกที่ดีและไม่ดี ด้วยตนของตนเอง ตรงนั้นแหละเรียกว่ามีตนเป็นที่พึ่ง
    
เราจะมามัวท้อแท้ ซึมเศร้า ซึมเซา อยู่ทำไม รักคนโน้น ห่วงคนนี้  เสียดายอะไรก็ไม่รู้ในสิ่งที่ล่วงเลยไปแล้ว

ไม่ต้องไปหาหมอโรคจิต กินยานอนหลับ แก้เครียด คลายกังวล กล่อมประสาท ไม่ได้ประโยชน์อะไรหรอก จะติดยามากขึ้น ต้องเพิ่มยามากขึ้น

บางคนอยากขึ้น แท็กซี่ไปกระโดดนำ้ตายที่สะพานแขวนให้มันจมนำ้ตายในแม่นำ้เจ้าพระยาให้มันสะใจ โปรดอย่าทำอย่างนั้นเลย ชีวิตเป็นของหายาก เกิดขึ้นมาก็ยากจะพบธรรมะก็ยาก ธรรมะจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง 

ถ้าจะอธิษฐานก็ขอให้ตายไปกับธรรมะในวันพรุ่งนี้เถิด แล้วท่านจะเห็นประโยชน์อย่างยิ่งเพราะเห็นธรรมที่ใจของเราเอง 
   
ใครๆก็ช่วยเราไม่ได้ นอกจากใจของเราเองทีมีพระ
รัตนตรัย คอยคุ้มครองเราตลอดไปทั้งชีวิตนี้และชีวิตหน้า ขอให้พระบรมศาสดาจงอยู่ในใจของท่านตลอดไป แล้วท่านก็จะได้ที่พึ่งอันสูงสุด มีโภคะและศรัทธาเป็นสมบัติอันหาค่ามิได้ติดตามท่านตลอดไป 

รู้อะไร ก็ไม่สู้ เท่ารู้ตัว
ไม่พันพัว อกุศล พ้นอบาย 

วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ขอเชิญร่วมทำบุญถวายสังฆทาน ฟังพระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อวิชัย เขมิโย (กรุณาอ่านลายละเอียด)


ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ ธันวาคม .. ๒๕๖๐
เวลา ๑๗.๓๐-๑๙.๐๐ .
โดย พระครูเกษมวรกิจ (หลวงพ่อวิชัย เขมิโย)
วัดถ้ำผาจม .แม่สาย .เชียงราย

ห้องประจำกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐานแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาคารศูนย์กิจกรรมนิสิต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน)
(
ห้องประจำกลุ่มอยู่ชั้น ทางขึ้นฝั่งทรูคอฟฟี่ อาคารฯอยู่ตรงข้ามชมรมยูโด)

แผนที่

แผนที่ห้องประจำกลุ่มฯ : https://drive.google.com/open?id=0B2sMO2cyBzDyUkRFZ0VIZVB3bHc

หรือทาง google maps: https://goo.gl/maps/ozx8Cv7iwUo
****************************************
________________________________
: กำหนดการ :
เวลา ๑๗.๐๐ . ลงทะเบียน/พระครูเกษมวรกิจ (หลวงพ่อวิชัย เขมิโย) เดินทางมาถึงห้องประจำกลุ่มฯ
เวลา ๑๗.๓๐ . พระครูเกษมวรกิจ (หลวงพ่อวิชัย เขมิโย) แสดงพระธรรมเทศนา
เวลา ๑๘.๓๐ . ตอบปัญหาธรรมะ
เวลา ๑๙.๔๕ . พิธีทำวัตรขอขมา ถวายจตุปัจจัยไทยทาน
เวลา ๑๙.๐๐ . พระครูเกษมวรกิจ (หลวงพ่อวิชัย เขมิโย) เดินทางกลับ
------------------------------------------------------------

ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ : https://www.facebook.com/events/554382408248605/?ti=icl
------------------------------------------------------------

ขอเชิญร่วมถวายปัจจัยกัณฑ์เทศน์และค่าเดินทางในนามกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐานแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แด่ พระครูเกษมวรกิจ (หลวงพ่อวิชัย เขมิโย) (สำหรับผู้ประสงค์ถวายปัจจัยแต่ไม่สามารถเดินทางมาร่วมกิจกรรม) ได้ที่
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเซ็นทรัลพลาซาเวสท์เกต
เลขที่บัญชี : 4074948577
ชื่อบัญชี นาย ทัชชกร คล้ายคลึง (ที่ปรึกษากลุ่มพุทธธรรมกรรมฐานฯ) (ปิดยอดบัญชี ๒๐ .. ๒๕๖๐)

ยอดถวายปัจจัยทั้งหมดน้อมนำไปถวายพระครูเกษมวรกิจ (หลวงพ่อวิชัย เขมิโย) ทั้งหมด โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

------------------------------------------------------------

สอบถามเพิ่มเติม: 0873427383
Facebook : @kukmtclub


ขอเชิญเข้าร่วมกลุ่มไลน์ เพื่อให้ทุกท่านได้เข้าถึงกิจกรรมได้ง่ายขึ้น
------------------------------------------------------------




วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ขอเชิญทุกท่านร่วมสวดมนต์ - เจริญสมาธิภาวนา เนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติ และ วันชาติไทย

ในวันอังคารที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๑๗.๓๐-๑๘.๓๐ น.

ณ ห้องประจำกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐานแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาคารศูนย์กิจกรรมนิสิต (ตรงข้ามเรือนยูโด) ชั้น ๒ (ทางขึ้นข้างทรูคอฟฟี่)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

Google maps : https://goo.gl/maps/8avLfgXNf5t

สอบถามเพิ่มเติม : 0873427383