วันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2561

กรณีเตโชวิปัสสนา เรื่องอาตาปี ทำกิเลสให้เร่าร้อนด้วยไฟจริงหรือ

อาตาปี ทำกิเลสให้เร่าร้อนด้วยไฟจริงหรือ ?


มีถ้อยแถลงของสำนักเตโชวิปัสสนา ที่กล่าวอธิบายวิธีการดังกล่าวว่า

เตโชวิปัสสนากรรมฐาน คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามหลักสติปัฏฐานสี่ สายเตโชวิปัสสนามาจากคำว่า เตโช + วิปัสสนากรรมฐานหลักการภาวนา เป็นการจุดธาตุไฟในกายมาเผากิเลส ไม่ใช่เตโชกสิณ ที่เพ่งไฟจากภายนอกเตโชวิปัสสนา เน้นมาที่การมีความเพียรเผากิเลส เป็นเทคนิคในการปฏิบัติ ที่ตีตรงมาที่หัวใจของคำว่า อาตาปี สัมปชาโณ สติมา พึงมีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อนเตโชวิปัสสนา คือ การตั้งสติรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม ด้วยเทคนิควิธีการที่ทำให้เกิดธาตุไฟในกายจุดขึ้นมาเผากิเลส ทำให้จิตบริสุทธิ์อย่างรวดเร็ว อันเป็นวิธีปฏิบัติวิปัสสนาทางลัดตัดตรงสู่นิพพาน ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติที่ไม่เคยมีใครได้รู้หลักการภาวนานี้มาก่อน(ถ้อยแถลง.(...)สืบค้นเมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๑, จากhttp://techovipassana.org)



ข้าพเจ้ามีความสงสัยว่าอาตาปีหมายความว่าอย่างไร จึงได้ไปเปิดในพระไตรปิฎกฉบับของมหามกุฏราชวิทยาลัย และพบคำอธิบายในอรรถกถาความว่า


อาตาปี แปลว่า มีความเพียร 
จริงอยู่ผู้มีความเพียรนั้น เป็นผู้ประกอบด้วยวิริยารัมภะ  (ปรารภความเพียร) ดังที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า 
ผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้น มีกำลังใจมีความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย  ชื่อว่า อาตาปี เพราะ มีปกติเผากิเลสได้โดยสิ้นเชิง
(อรรถกถาอาตาปีสูตร ขุ.อิติ.๔๕/๒๐๕/๒๑๒)


ซึ่งข้อความในอรรถกถานั้นได้สอดคล้องกับ คำพูดของพระอาจารย์มหาบุญมี ปุญฺญวุฑฺโฒ ความว่า


จิตเผลอไม่มีสติรู้ตัว เป็นไปเองมีวิริยะฝ่ายอกุศลทำให้จิตเผลอ เป็นปัจจัยแก่กายทำตามเคยชิน
เมื่อจิตเผลอเป็นไปแล้วจิตรู้ตัวที่มีวิริยะฝ่ายกุศลเกิดสลับขึ้นมาเพราะได้ปัจจัยเป็นปัจจัยแก่กายเป็นวิริยะที่เกิดขึ้น เพราะได้ปัจจัยคือได้ละเครื่องกังวล ได้กายวิเวก ได้เรียนมาดี (สตาวุธ) ได้ความสะดวก (สัปปายะ) อย่าง จึงเรียกกิจกรรมความเพียรชนิดนี้ว่าปรารภความเพียรหรืออาตาปียังกิเลสให้เร่าร้อน
(พระมหาบุญมี ปุญฺญวุฑฺโฒ;๒๕๖๑,.๑๐๘)


จากอรรถกถาพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย และ และคำของพระอาจารย์มหาบุญมี นั้นแตกต่างจากถ้อยแถลงของสำนักเตโชวิปัสสนาอย่างสิ้นเชิง เพราะ อาตาปีนั้นไม่ใช่การจุดธาตุไฟในกายมาเผากิเลสแต่เป็นการปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้น มีกำลังใจมีความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย” 

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือกรณีธรรมกาย (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์, .๔๓๙)ไว้ว่ายกมาเล่าไม่หมดไม่ตลอดคงจะตัดเอาแต่ตอนที่เข้ากับความประสงค์ จึงทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ง่ายและ (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์, ท้ายเล่ม) ว่าประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัยก็ร้ายแต่ทำให้พระธรรมวินัยวิปริตร้ายยิ่งกว่า” 

ดังนั้นตอนที่ยกคำส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎกมาไม่ทั้งหมด และอีกทั้งนิยามคำศัพท์ที่ผิดพลาดจากอรรถกถา เป็นธรรมปลอมที่เข้ามาในพระพุทธศาสนา ดั่งในสัทธรรมปฏิรูปสูตรความว่า 


สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป 
และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด
เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลื่อนหายไป” 
(สํ.นิ.๒๖/๖๓๑/๕๓๒)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น